สังขละบุรี เป็นอำเภอที่ติดต่อกับชายแดนพม่า ห่างจากตัวเมืองประมาณ 215 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากอำเภอ ทองผาภูมิ 74 กิโลเมตร เมืองชายแดน แห่งนี้ รายล้อมด้วยธรรมชาติและขุนเขาอัน เขียวขจี มีแม่น้ำซองกาเลีย ไหลจากต้นกำเนิดในประเทศพม่า พาดผ่าน อำเภอสังขละบุรีหล่อเลี้ยงผู้คน สองฟากฝั่งแม่น้ำ และเชื่อมสัมพันธ์ ชนชาติิมอญทั้งสองประเทศ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม่น้ำซองกาเลียจึงเป็นชื่อเรียก จากภาษามอญแปลเป็น ไทยว่า“ฝั่งโน้น” แม่น้ำซองกาเลียแบ่งแผ่นดินอำเภอสังขละบุรีออกเป็น สองฝั่ง ฝั่งหนึ่งคือตัวอำเภอ ซึ่งรวม สถานที่ราชการและสถานที่พัก สำหรับ นักท่องเที่ยว ซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นคนไทยที่พูดภาษาไทย ภาคกลางส่วน อีกฝั่งหนึ่ง เป็นหมู่บ้านของชาวมอญทั้งที่ตั้งรกราก มานานนับร้อยปีและเพิ่ง อพยพเข้ามาใหม่สังขละบุรีเมืองที่ มีความงามหลากหลาย ทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม ของพี่น้องต่างเผ่าพันธุ์ ทั้งมอญ กระเหรี่ยง ไทย ลาว พม่า ฯลฯ อำเภอสังขละบุรีมีชาวมอญ อาศัยตั้งบ้านเรือน อยู่เป็นจำนวนมาก ตัวอำเภอตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่า"สามประสบ" คือบริเวณที่ลำน้ำสามสาย อันได้แก่ ห้วยซองกะเลีย ห้วยบิคลี่ และห้วยรันตี ไหลมาบรรจบกันเป็นของแม่น้ำแคว เมืองแห่งสายน้ำ ขุนเขา และผืนป่าอันอุดม เมืองที่มีความงาม หลากหลายทางเชื้อชาติ และวัฒนธรรม พี่น้องต่าง เผ่าพันธุ์ ทั้งมอญ กระเหรี่ยง ไทย ลาว พม่า ฯลฯ
1.สะพานมอญ
"สะพานไม้อุตตมานุสรณ์" หรือที่ เรียกกันว่า "สะพานมอญ”เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศ มีความยาวประมาณ ๑ กม. หลวงพ่ออุตตมะเป็นผู้ดำเนินการสร้าง โดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้คนไทย กะเหรี่ยงและมอญได สัญจร ไปมาหาสู่กันได้ เป็นการสร้าง ความสัมพันธ์ของคนทั้งสามกลุ่มสะพานมอญเป็นจุดท่องเที่ยวที่เรียกว่า กลายเป็นสัญลักษณ์ของสังขละบุรีไปแล้ว นักท่องเที่ยวจะนิยมเดิน ชมสะพานเพื่อชมแสงสีทองของ พระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า รวมถึง ชมวิถีชีวิตของชาวไทย และมอญที่เดินข้ามไปมาหากันบนสะพาน แห่งนี้ซึ่งค่อน ข้างจะคึกคักมากในช่วงเช้า
2.เมืองบาดาล
ในอดีตเป็นวัดวังก์วิเวการามเดิมที่หลวงพ่ออุตตมะและชาวบ้านอพยพชาวกะเหรี่ยง และมอญได้ร่วมกันสร้างขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ. 2496 ในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำสามสาย คือ แม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำ รันตี ไหลมาบรรจบกัน ต่อมาในปี 2527 มีการก่อสร้าง เขื่อนเขาแหลมทำให้น้ำท่วมตัวอำเภอสังขละบุรี เก่ารวมทั้งวัดนี้ ด้วย หลวงพ่อจึงได้ย้ายมาสร้างวัดมาอยู่บนเนินเขา ส่วนวัดเดิมได้จมอยู่ใต้น้ำมานาน นับสิบปี ใน ช่วงฤดูแล้งราวเดือนมีนาคม-เมษายน น้ำจะลดจนตัวโบสถ์โผล่พ้นน้ำทั้งหมด สามารถนั่งเรือ และขึ้นไปเดินเที่ยวชมโบสถ์ได้ ท่านสามารถล่องเรือชมบรรยากาศสองริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งจะพบวิถีการดำเนินชีวิตของ ชาวมอญ และเห็น ยอดเจดีย์พุทธคยาระหว่างการล่องเรือ ในช่วงน้ำมาก น้ำจะท่วมสูงเกือบทั้งหมด เหลือเพียงยอด ของโบสถ์เท่านั้นที่โผล่ให้เห็น ทำให้ที่นี่ เป็นสถานที่ที่น่าสนใจ มีเสน่ห์จนกลายเป็นแหล่ง ท่องเที่ยว Unseen Thailand ในชื่อ เมืองบาดาล
ในอดีตเป็นวัดวังก์วิเวการามเดิมที่หลวงพ่ออุตตมะและชาวบ้านอพยพชาวกะเหรี่ยง และมอญได้ร่วมกันสร้างขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ. 2496 ในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำสามสาย คือ แม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำ รันตี ไหลมาบรรจบกัน ต่อมาในปี 2527 มีการก่อสร้าง เขื่อนเขาแหลมทำให้น้ำท่วมตัวอำเภอสังขละบุรี เก่ารวมทั้งวัดนี้ ด้วย หลวงพ่อจึงได้ย้ายมาสร้างวัดมาอยู่บนเนินเขา ส่วนวัดเดิมได้จมอยู่ใต้น้ำมานาน นับสิบปี ใน ช่วงฤดูแล้งราวเดือนมีนาคม-เมษายน น้ำจะลดจนตัวโบสถ์โผล่พ้นน้ำทั้งหมด สามารถนั่งเรือ และขึ้นไปเดินเที่ยวชมโบสถ์ได้ ท่านสามารถล่องเรือชมบรรยากาศสองริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งจะพบวิถีการดำเนินชีวิตของ ชาวมอญ และเห็น ยอดเจดีย์พุทธคยาระหว่างการล่องเรือ ในช่วงน้ำมาก น้ำจะท่วมสูงเกือบทั้งหมด เหลือเพียงยอด ของโบสถ์เท่านั้นที่โผล่ให้เห็น ทำให้ที่นี่ เป็นสถานที่ที่น่าสนใจ มีเสน่ห์จนกลายเป็นแหล่ง ท่องเที่ยว Unseen Thailand ในชื่อ เมืองบาดาล